วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstract )





วาสิลี แคนดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ค.ศ. 1866-1944 เป็นชาวรัสเซีย ผู้นำจิตรกรรมแบบนามธรรม


ระหว่าง: กลางคริสต์ทศวรรษ 1940-ทศวรรษ 1950

ศัพท์คำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ มีที่มาจากการพยายามอธิบายงานจิตรกรรมนามธรรมของ วาสสิลี่ คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ในระหว่างปี 1920 ต่อมาคำๆนี้ไปปรากฏในข้อเขียนสำหรับอธิบายงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่เขียนโดย โรเบิร์ต โคเตส (Robert Coates) ในนิตยสาร “นิวยอร์คเกอร์” (New Yorker) ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 1946
นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลที่สนับสนุนศิลปะแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ อย่างแข็งขันสองคน ฮาโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) และ คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg) เคยให้ศัพท์อื่นๆ เอาไว้เรียกงานในแนวเดียวกันนี้ว่า แอ็คชัน เพนติ้ง (Action painting) และ อเมริกัน สไตล์ เพนติ้ง (American-style painting) แต่ในที่สุดคำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา ส่วนในยุโรปจะมีการใช้คำว่า อาร์ต อินฟอร์เมล (Art Informel)

แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นกระแสศิลปะแรกในอเมริกาที่เกิดจากเหล่าศิลปินชาวยุโรปที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา พวกเขาเหล่านี้หนีภัยเผด็จการของพวกนาซีจากเยอรมนี แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คือผลจากการสังเคราะห์ศิลปะหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานแนว เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) โดย วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) งานนามธรรมโดย คานดินสกี้ งานที่เน้นสีสันในพื้นที่ใหญ่ๆ ของ อองรี มาติสส์ (Henri Matisse) ไปจนถึงงานที่เป็นรูปทรงอิสระแบบธรรมชาติ “ออแกนิค” (organic) และงานจากจิตไร้สำนึกของพวก เซอร์เรียลลิสม์ อย่าง โจน มิโร (Joan Miro) มีเพียงงานแนวเรขาคณิตและแนวเหมือนจริงเท่านั้นที่ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในรูปแบบอันหลากหลายของแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์

สำหรับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ แล้ว พวกเขามีส่วนร่วมกันในเรื่องของ “ทัศนคติ” มากกว่าจะเหมือนในเรื่องของ “รูปแบบ” ตัวอย่างเช่น ผลงานที่เกิดจากการหยอด การหยดสีของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) มีอะไรที่คล้ายกับพื้นสีอันกว้างใหญ่ของ มาร์ค รอธโก (Mark Rothko) น้อยมาก แต่ที่แน่ๆ พวกศิลปินกลุ่มนี้จะคล้ายกันในเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์และกายภาพ วิธีคิด วิธีทำงานและแนวงานแบบนี้ ตรงกันข้ามกันอย่างมากกับแนวงาน โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism) ที่ทำกันแพร่หลายในทศวรรษ 1930

แนวงานแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คืออีกตัวอย่างอันสุดขั้วของแนวคิดแบบ สมัยใหม่ (modernist) ที่เน้นความเป็นต้นแบบต้นฉบับ ความเป็นปัจเจกเฉพาะตัวของศิลปิน การทำงาน (เขียนภาพ) โดยแทบจะไม่อ้างอิงถึงสรรพสิ่งใดๆในโลก แต่จะมุ่งไปที่การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่สดฉับพลัน ผ่านสีสันและฝีแปรง

ศิลปิน : วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning, 1904-1997), ฟิลิป กัสตัน (Philip Guston, 1913-1980), โรเบิร์ต มาร์เธอร์เวลล์ (Robert Motherwell, 1915-1991), บาร์เนทท์ นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970), แจ็คสัน พ็อลล็อก (Jackson Pollock, 1912-1956), มาร์ค ร็อธโก้ (Mark Rothko, 1903-1970), คลิฟฟอร์ด สติลล์ (Clyfford Still, 1904-1980)

 Abstract, Abstract Expressionism, ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม, แอ็บสแตรค, แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์<span> </span>ระหว่าง: กลางคริสต์ทศวรรษ 1940-ทศวรรษ 1950ศัพท์คำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ มีที่มาจากการพยายามอธิบายงานจิตรกรรมนามธรรมของ วาสสิลี่ คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ในระหว่างปี 1920 ต่อมาคำๆนี้ไปปรากฏในข้อเขียนสำหรับอธิบายงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่เขียนโดย โรเบิร์ต โคเตส (Robert Coates) ในนิตยสาร “นิวยอร์คเกอร์” (New Yorker) ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 1946นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลที่สนับสนุนศิลปะแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ อย่างแข็งขันสองคน ฮาโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) และ คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg) เคยให้ศัพท์อื่นๆ เอาไว้เรียกงานในแนวเดียวกันนี้ว่า แอ็คชัน เพนติ้ง (Action painting) และ อเมริกัน สไตล์ เพนติ้ง (American-style painting) แต่ในที่สุดคำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา ส่วนในยุโรปจะมีการใช้คำว่า อาร์ต อินฟอร์เมล (Art Informel)แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นกระแสศิลปะแรกในอเมริกาที่เกิดจากเหล่าศิลปินชาวยุโรปที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา พวกเขาเหล่านี้หนีภัยเผด็จการของพวกนาซีจากเยอรมนี แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คือผลจากการสังเคราะห์ศิลปะหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานแนว เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) โดย วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) งานนามธรรมโดย คานดินสกี้ งานที่เน้นสีสันในพื้นที่ใหญ่ๆ ของ อองรี มาติสส์ (Henri Matisse) ไปจนถึงงานที่เป็นรูปทรงอิสระแบบธรรมชาติ “ออแกนิค” (organic) และงานจากจิตไร้สำนึกของพวก เซอร์เรียลลิสม์ อย่าง โจน มิโร (Joan Miro) มีเพียงงานแนวเรขาคณิตและแนวเหมือนจริงเท่านั้นที่ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในรูปแบบอันหลากหลายของแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์สำหรับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ แล้ว พวกเขามีส่วนร่วมกันในเรื่องของ “ทัศนคติ” มากกว่าจะเหมือนในเรื่องของ “รูปแบบ” ตัวอย่างเช่น ผลงานที่เกิดจากการหยอด การหยดสีของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) มีอะไรที่คล้ายกับพื้นสีอันกว้างใหญ่ของ มาร์ค รอธโก (Mark Rothko) น้อยมาก แต่ที่แน่ๆ พวกศิลปินกลุ่มนี้จะคล้ายกันในเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์และกายภาพ วิธีคิด วิธีทำงานและแนวงานแบบนี้ ตรงกันข้ามกันอย่างมากกับแนวงาน โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism) ที่ทำกันแพร่หลายในทศวรรษ 1930แนวงานแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คืออีกตัวอย่างอันสุดขั้วของแนวคิดแบบ สมัยใหม่ (modernist) ที่เน้นความเป็นต้นแบบต้นฉบับ ความเป็นปัจเจกเฉพาะตัวของศิลปิน การทำงาน (เขียนภาพ) โดยแทบจะไม่อ้างอิงถึงสรรพสิ่งใดๆในโลก แต่จะมุ่งไปที่การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่สดฉับพลัน ผ่านสีสันและฝีแปรงศิลปิน : วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning, 1904-1997), ฟิลิป กัสตัน (Philip Guston, 1913-1980), โรเบิร์ต มาร์เธอร์เวลล์ (Robert Motherwell, 1915-1991), บาร์เนทท์ นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970), แจ็คสัน พ็อลล็อก (Jackson Pollock, 1912-1956), มาร์ค ร็อธโก้ (Mark Rothko, 1903-1970), คลิฟฟอร์ด สติลล์ (Clyfford Still, 1904-1980)Tags: Abstract, Abstract Expressionism, ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม, แอ็บสแตรค, แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์

ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstractism ) ศิลปะไร้รูปลักษณ์

 ศิลปินแสดงออกโดยการสกัดรูปทรงจากธรรมชาติให้ง่ายปล่อยให้รูปทรงปรากฏขึ้น

ตามลีลาหรือกลวิธีในการแสดงออก

 บางครั้งก็สร้างรูปทรงให้ปรากฏขึ้นจากความคิดอันเป็นนามธรรม

ศิลปินสร้างเส้น รูปทรง สี จากการใช้ญาณวินิจฉัย โดยไม่ต้องพึ่งเส้นรูปทรง สี
จากธรรมชาติ

 การแสดงออกเป็นผลจากพลังจิตใต้สำนึก ตามเส้นทางของจิตวิทยา

 กลวิธีของการแสดงออก ได้แก่ การใช้สีราด หยด หยอด ใช้แปรงละเลง

 ระบายอย่างหยาบกร้านการสาดสี เป็นต้น

 ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ แจคสัน   พอลลอค,วาสสิลี   แคนดินสกี, พีท   มองเดรียง

  1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  องค์ประกอบสีแดง เหลือง และน้ำเงิน
 โดย พีท   มองเดรียง Piet  Mondrian  ค.ศ.1921


ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition)
เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต มอนดรีอัน (Piet Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก


สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่น


พีท มองเดรียง Piet Mondrian


2.  ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ เอกนัย  Convergence
 โดย  แจคสัน   พอลลอคJackson  Pollock ค.ศ.1952


แจคสัน พอลลอคJackson Pollock


ในระยะแรกพอลล็อกเขียนภาพแนวนามธรรม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยความที่เป็นคนจริงจัง และค่อนข้างเก็บตัว เขาจึงเครียดอยู่เสมอ แต่ก็ได้ภรรยาคอยให้กำลังใจมาตลอด ภายหลังทั้งคู่จึงหลบความวุ่นวายในเมือง ย้ายไปหาความสงบในชนบทและใช้โรงนาเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะ




ที่นี่เองที่วันหนึ่ง พอลล็อกค้นพบเทคนิคการเขียนภาพแบบใหม่โดยบังเอิญ ขณะกระป๋องสีล้มลงใส่ภาพที่เขากำลังเขียน ต่อมาเรียกเทคนิคแบบนี้ว่า “กัมมันตจิตรกรรม” (Action Painting) หรือ “เอ็กเพรสชันนิสม์เชิงนามธรรม” (Abstract Expressionist) ซึ่งเป็นการทำงานศิลปะโดยการหยด สาด หรือเทสีลงบนผ้าใบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ หรือแบบแผนใด ๆ แต่ปล่อยให้จิตสำนึกเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้น แต่พอลล็อกยืนยันว่าผลงานศิลปะของเขาไม่ได้เกิดจาก “เหตุบังเอิญ” แต่เขาสามารถควบคุมมันได้

ในระยะแรกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ศิลปะของชาวอเมริกันพื้นเมือง (Indian sandpainting) รวมทั้งตัวอักษรจีน จนในที่สุดก็ค้นพบเทคนิคส่วนตัวโดยผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับศิลปะบริสุทธิ์ ผลงานชิ้นสำคัญคือ “No. 5, 1948” ซึ่งมีราคาสูงถึง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก เขาเคยกล่าวไว้ว่า “กระบวนการทำงานศิลปะสำคัญกว่าผลสำเร็จขั้นสุดท้าย”


Paul Jackson Pollock


และท้ายแจ็กสัน พอลล็อก (Paul Jackson Pollock) จิตรกรชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะอายุ 44 ปี พอลล็อกเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2455 ที่เมืองโคดี มลรัฐไวโอมิง เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School เมืองลอสแองเจลีส แคลิฟอร์เนีย

4. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ความปิติ Small Pleasure

โดยวาสสิลี  แคนดินสกี Wassili  Kandinsky ค.ศ. 1913


Kandinsky


ลัทธิแอสแตรค Astract)  มาจาก แอบสแตรค  ที่หมายถึง นามธรรม   ศิลปินมีการสร้างสรรค์ผลงานโฑดยการคำนึงถึงเส้นและสีเท่านั้น  มีลวดลายค้ายลายผ้า  ลายพรม หรือ ลายกระเบื้องปูพื้น  ศิลปินที่มีชื่อเสียง  เช่น  คองดินสกี (Kandinsky)   มองดีออง Mondrian)   และ  วิลอง




beside the sea1966 by robert motherwell



Luise Deicher



Clyfford Still



Cath Sheard - "After Motherwell"



Kandinsky: The Last Decade



วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning 1904-1997) จิตรกรรมชุด ผู้หญิง (Women)

อ้างอิง
http://www.bkkgallery.com/index.phpM?
http://www.kongkapan.com/webboard/index.php?topic86.0

จัดทำโดย
นางสาววรรณศิริ ศรีชัยชิต เลขที่ 26
นายอัมรินทร์ เกียงเอีย เลขที่ 42
นางสาวอุลัยลักษณ์ อินพิมพ์ เลขที่ 44

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น