วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แสง สี และที่ว่าง ของ 6 ศิลปินละตินอเมริกา

โดย... อฐิณป ลภณวุษ




นิทรรศการศิลปะที่เล่นกับแสงและพื้นที่ Suprasensorial: Experiments in Light, Color, and Space ครั้งแรกที่จัดกันในหอศิลป์ ผลงานของ 5 ศิลปินชาวอเมริกาใต้ คือ คาร์ลอส ครูซ ดิเอซ ลูซิโอ ฟินตานา ฮูลิโอ เล ปาร์ก เอลิโอ โออิติซิกา เนวิเย ดาลเมียดา และเฮซุส ราฟาเอล โซโต

พื้นที่ทั้งหมดของหอศิลป์ได้รับการดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ด้วยการเติมแสงสี และศิลปะแบบจัดวางทั้งหลาย เข้าไปในห้องนั้นห้องนี้ อันเป็นธรรมเนียมที่เคยคุ้นกันในวิชวลอาร์ตยุคทศวรรษที่ 1960–1970 ในแคลิฟอร์เนีย แบ่งออกได้เป็น 5 ห้องใหญ่ๆ โดยอาศัยแสง สี และพื้นที่ของหอศิลป์ เป็น “อุปกรณ์” ในการสร้างสรรค์

เช่นเดียวกับบรรดาผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว ก็จะตกเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะอย่างอัตโนมัติ เนื่องเพราะแต่ละห้องที่บรรจุไว้ด้วยแสงสี ต่างๆ อย่างเข้มข้น จะกระตุ้นให้มนุษย์เราเกิดอารมณ์ต่างๆ กัน ซึ่งเอลิโอ โออิติซิกา เรียกว่า Suprasensorial “คนที่เข้ามาชมจะมีส่วนเติมเต็มนิทรรศการศิลปะครั้งนี้ โดยแต่ละคนที่จะมีอารมณ์ความรู้สึกต่อแสงสีต่างๆ ที่จัดแสดงไว้อย่างแตกต่างกัน ผู้ชมจะคล้ายเป็นประติมากรรมที่มีชีวิต นอกจากเรื่องอามรณ์แล้ว สีสันของเสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่ ก็จะทำปฏิกิริยากับแสงสีโทนต่างๆ ไปแตกต่างกันด้วย” เอลิโอ หนึ่งในศิลปินละตินอเมริกา ว่า

ห้องที่เป็นไฮไลต์ในนิทรรศการครั้งนี้ คือ ห้อง Cosmococa–Programa in Progress, CC4 Nocagions (1973) อันเป็นการทำงานร่วมกันของเอลิโอ โออิติซิกา ทำงานร่วมกับเนวิเย ดาลเมียดา

ห้องดังกล่าวบรรจุสระว่ายน้ำลึก 90 เซนติเมตร ประดับไว้ด้วยไฟสีกลางๆ บริเวณผนังมีจอโปรเจกเตอร์ ยิงภาพหนังสือ Notations และโน้ตเพลงของจอห์น เคจ ที่ปกคลุมไปด้วยโคเคน พื้นผิวของน้ำในสระมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นจังหวะจะโคนที่ขาดไม่ได้สำหรับงานศิลปะชุดนี้









ผู้เข้าชมนิทรรศการ เมื่อเข้ามาถึงห้องนี้จะได้เป็นส่วนหนึ่งของงานด้วยการได้รับเชิญให้ลงเล่นน้ำอุ่นๆ ในสระ ซึ่งสามารถภูมิใจได้ เพราะจะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มนิทรรศการนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ (มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้พร้อม สำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนชุดว่ายน้ำ รวมถึงผ้าขนหนู และชุดว่ายน้ำบริการ แล้วยังมีหน่วยไลฟ์การ์ดช่วยชีวิตก็พร้อมรับทุกสถานการณ์)

นิทรรศการ Suprasensorial: Experiments in Light, Color, and Space มีอัลมา รูอิซ เป็นภัณฑารักษ์ จัดแสดงที่หอศิลป์โมกา หรือหอศิลปะร่วมสมัยที่แคลิฟอร์เนีย (MOCA) ตั้งแต่วันนี้–27 ก.พ. 2554 ก่อนที่จะไปทัวร์แสดงที่ ฮิร์ชฮอร์น มิวเซียม แอนด์ สคัลป์เจอร์ การ์เดน ในวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย.–11 ก.ย. 2554

ที่หอศิลป์โมกา ทุกคนจะได้เห็นแค็ตตาล็อกรวมภาพนิทรรศการชุดดังกล่าวนี้ จำนวน 148 หน้า ที่แสดงถึงพัฒนาการในงานศิลปะแห่งแสงสี ในอเมริกาใต้ พร้อมกับความเรียงโดยภัณฑารักษ์อัลมา รูอิซ ประกอบกับชิ้นงานแต่ละชิ้น รวมทั้งบรรจุผลงานที่ผ่านๆ มาของทั้ง 6 ศิลปินละตินอเมริกาที่ร่วมแสดงงานครั้งนี้






โดย... อฐิณป ลภณวุษ
15 ธันวาคม 2553
เมาท์กันให้ Z> Z-ติสต์ > ศิลปะ>
by : posttoday.com/

ไขความลับ'โมนาลิซ่า'

ไขความลับ'โมนาลิซ่า'

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstract )





วาสิลี แคนดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ค.ศ. 1866-1944 เป็นชาวรัสเซีย ผู้นำจิตรกรรมแบบนามธรรม


ระหว่าง: กลางคริสต์ทศวรรษ 1940-ทศวรรษ 1950

ศัพท์คำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ มีที่มาจากการพยายามอธิบายงานจิตรกรรมนามธรรมของ วาสสิลี่ คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ในระหว่างปี 1920 ต่อมาคำๆนี้ไปปรากฏในข้อเขียนสำหรับอธิบายงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่เขียนโดย โรเบิร์ต โคเตส (Robert Coates) ในนิตยสาร “นิวยอร์คเกอร์” (New Yorker) ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 1946
นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลที่สนับสนุนศิลปะแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ อย่างแข็งขันสองคน ฮาโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) และ คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg) เคยให้ศัพท์อื่นๆ เอาไว้เรียกงานในแนวเดียวกันนี้ว่า แอ็คชัน เพนติ้ง (Action painting) และ อเมริกัน สไตล์ เพนติ้ง (American-style painting) แต่ในที่สุดคำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา ส่วนในยุโรปจะมีการใช้คำว่า อาร์ต อินฟอร์เมล (Art Informel)

แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นกระแสศิลปะแรกในอเมริกาที่เกิดจากเหล่าศิลปินชาวยุโรปที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา พวกเขาเหล่านี้หนีภัยเผด็จการของพวกนาซีจากเยอรมนี แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คือผลจากการสังเคราะห์ศิลปะหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานแนว เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) โดย วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) งานนามธรรมโดย คานดินสกี้ งานที่เน้นสีสันในพื้นที่ใหญ่ๆ ของ อองรี มาติสส์ (Henri Matisse) ไปจนถึงงานที่เป็นรูปทรงอิสระแบบธรรมชาติ “ออแกนิค” (organic) และงานจากจิตไร้สำนึกของพวก เซอร์เรียลลิสม์ อย่าง โจน มิโร (Joan Miro) มีเพียงงานแนวเรขาคณิตและแนวเหมือนจริงเท่านั้นที่ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในรูปแบบอันหลากหลายของแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์

สำหรับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ แล้ว พวกเขามีส่วนร่วมกันในเรื่องของ “ทัศนคติ” มากกว่าจะเหมือนในเรื่องของ “รูปแบบ” ตัวอย่างเช่น ผลงานที่เกิดจากการหยอด การหยดสีของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) มีอะไรที่คล้ายกับพื้นสีอันกว้างใหญ่ของ มาร์ค รอธโก (Mark Rothko) น้อยมาก แต่ที่แน่ๆ พวกศิลปินกลุ่มนี้จะคล้ายกันในเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์และกายภาพ วิธีคิด วิธีทำงานและแนวงานแบบนี้ ตรงกันข้ามกันอย่างมากกับแนวงาน โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism) ที่ทำกันแพร่หลายในทศวรรษ 1930

แนวงานแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คืออีกตัวอย่างอันสุดขั้วของแนวคิดแบบ สมัยใหม่ (modernist) ที่เน้นความเป็นต้นแบบต้นฉบับ ความเป็นปัจเจกเฉพาะตัวของศิลปิน การทำงาน (เขียนภาพ) โดยแทบจะไม่อ้างอิงถึงสรรพสิ่งใดๆในโลก แต่จะมุ่งไปที่การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่สดฉับพลัน ผ่านสีสันและฝีแปรง

ศิลปิน : วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning, 1904-1997), ฟิลิป กัสตัน (Philip Guston, 1913-1980), โรเบิร์ต มาร์เธอร์เวลล์ (Robert Motherwell, 1915-1991), บาร์เนทท์ นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970), แจ็คสัน พ็อลล็อก (Jackson Pollock, 1912-1956), มาร์ค ร็อธโก้ (Mark Rothko, 1903-1970), คลิฟฟอร์ด สติลล์ (Clyfford Still, 1904-1980)

 Abstract, Abstract Expressionism, ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม, แอ็บสแตรค, แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์<span> </span>ระหว่าง: กลางคริสต์ทศวรรษ 1940-ทศวรรษ 1950ศัพท์คำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ มีที่มาจากการพยายามอธิบายงานจิตรกรรมนามธรรมของ วาสสิลี่ คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ในระหว่างปี 1920 ต่อมาคำๆนี้ไปปรากฏในข้อเขียนสำหรับอธิบายงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่เขียนโดย โรเบิร์ต โคเตส (Robert Coates) ในนิตยสาร “นิวยอร์คเกอร์” (New Yorker) ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 1946นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลที่สนับสนุนศิลปะแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ อย่างแข็งขันสองคน ฮาโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) และ คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg) เคยให้ศัพท์อื่นๆ เอาไว้เรียกงานในแนวเดียวกันนี้ว่า แอ็คชัน เพนติ้ง (Action painting) และ อเมริกัน สไตล์ เพนติ้ง (American-style painting) แต่ในที่สุดคำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา ส่วนในยุโรปจะมีการใช้คำว่า อาร์ต อินฟอร์เมล (Art Informel)แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นกระแสศิลปะแรกในอเมริกาที่เกิดจากเหล่าศิลปินชาวยุโรปที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา พวกเขาเหล่านี้หนีภัยเผด็จการของพวกนาซีจากเยอรมนี แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คือผลจากการสังเคราะห์ศิลปะหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานแนว เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) โดย วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) งานนามธรรมโดย คานดินสกี้ งานที่เน้นสีสันในพื้นที่ใหญ่ๆ ของ อองรี มาติสส์ (Henri Matisse) ไปจนถึงงานที่เป็นรูปทรงอิสระแบบธรรมชาติ “ออแกนิค” (organic) และงานจากจิตไร้สำนึกของพวก เซอร์เรียลลิสม์ อย่าง โจน มิโร (Joan Miro) มีเพียงงานแนวเรขาคณิตและแนวเหมือนจริงเท่านั้นที่ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในรูปแบบอันหลากหลายของแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์สำหรับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ แล้ว พวกเขามีส่วนร่วมกันในเรื่องของ “ทัศนคติ” มากกว่าจะเหมือนในเรื่องของ “รูปแบบ” ตัวอย่างเช่น ผลงานที่เกิดจากการหยอด การหยดสีของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) มีอะไรที่คล้ายกับพื้นสีอันกว้างใหญ่ของ มาร์ค รอธโก (Mark Rothko) น้อยมาก แต่ที่แน่ๆ พวกศิลปินกลุ่มนี้จะคล้ายกันในเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์และกายภาพ วิธีคิด วิธีทำงานและแนวงานแบบนี้ ตรงกันข้ามกันอย่างมากกับแนวงาน โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism) ที่ทำกันแพร่หลายในทศวรรษ 1930แนวงานแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คืออีกตัวอย่างอันสุดขั้วของแนวคิดแบบ สมัยใหม่ (modernist) ที่เน้นความเป็นต้นแบบต้นฉบับ ความเป็นปัจเจกเฉพาะตัวของศิลปิน การทำงาน (เขียนภาพ) โดยแทบจะไม่อ้างอิงถึงสรรพสิ่งใดๆในโลก แต่จะมุ่งไปที่การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่สดฉับพลัน ผ่านสีสันและฝีแปรงศิลปิน : วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning, 1904-1997), ฟิลิป กัสตัน (Philip Guston, 1913-1980), โรเบิร์ต มาร์เธอร์เวลล์ (Robert Motherwell, 1915-1991), บาร์เนทท์ นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970), แจ็คสัน พ็อลล็อก (Jackson Pollock, 1912-1956), มาร์ค ร็อธโก้ (Mark Rothko, 1903-1970), คลิฟฟอร์ด สติลล์ (Clyfford Still, 1904-1980)Tags: Abstract, Abstract Expressionism, ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม, แอ็บสแตรค, แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์

ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstractism ) ศิลปะไร้รูปลักษณ์

 ศิลปินแสดงออกโดยการสกัดรูปทรงจากธรรมชาติให้ง่ายปล่อยให้รูปทรงปรากฏขึ้น

ตามลีลาหรือกลวิธีในการแสดงออก

 บางครั้งก็สร้างรูปทรงให้ปรากฏขึ้นจากความคิดอันเป็นนามธรรม

ศิลปินสร้างเส้น รูปทรง สี จากการใช้ญาณวินิจฉัย โดยไม่ต้องพึ่งเส้นรูปทรง สี
จากธรรมชาติ

 การแสดงออกเป็นผลจากพลังจิตใต้สำนึก ตามเส้นทางของจิตวิทยา

 กลวิธีของการแสดงออก ได้แก่ การใช้สีราด หยด หยอด ใช้แปรงละเลง

 ระบายอย่างหยาบกร้านการสาดสี เป็นต้น

 ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ แจคสัน   พอลลอค,วาสสิลี   แคนดินสกี, พีท   มองเดรียง

  1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  องค์ประกอบสีแดง เหลือง และน้ำเงิน
 โดย พีท   มองเดรียง Piet  Mondrian  ค.ศ.1921


ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition)
เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต มอนดรีอัน (Piet Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก


สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่น


พีท มองเดรียง Piet Mondrian


2.  ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ เอกนัย  Convergence
 โดย  แจคสัน   พอลลอคJackson  Pollock ค.ศ.1952


แจคสัน พอลลอคJackson Pollock


ในระยะแรกพอลล็อกเขียนภาพแนวนามธรรม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยความที่เป็นคนจริงจัง และค่อนข้างเก็บตัว เขาจึงเครียดอยู่เสมอ แต่ก็ได้ภรรยาคอยให้กำลังใจมาตลอด ภายหลังทั้งคู่จึงหลบความวุ่นวายในเมือง ย้ายไปหาความสงบในชนบทและใช้โรงนาเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะ




ที่นี่เองที่วันหนึ่ง พอลล็อกค้นพบเทคนิคการเขียนภาพแบบใหม่โดยบังเอิญ ขณะกระป๋องสีล้มลงใส่ภาพที่เขากำลังเขียน ต่อมาเรียกเทคนิคแบบนี้ว่า “กัมมันตจิตรกรรม” (Action Painting) หรือ “เอ็กเพรสชันนิสม์เชิงนามธรรม” (Abstract Expressionist) ซึ่งเป็นการทำงานศิลปะโดยการหยด สาด หรือเทสีลงบนผ้าใบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ หรือแบบแผนใด ๆ แต่ปล่อยให้จิตสำนึกเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้น แต่พอลล็อกยืนยันว่าผลงานศิลปะของเขาไม่ได้เกิดจาก “เหตุบังเอิญ” แต่เขาสามารถควบคุมมันได้

ในระยะแรกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ศิลปะของชาวอเมริกันพื้นเมือง (Indian sandpainting) รวมทั้งตัวอักษรจีน จนในที่สุดก็ค้นพบเทคนิคส่วนตัวโดยผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับศิลปะบริสุทธิ์ ผลงานชิ้นสำคัญคือ “No. 5, 1948” ซึ่งมีราคาสูงถึง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก เขาเคยกล่าวไว้ว่า “กระบวนการทำงานศิลปะสำคัญกว่าผลสำเร็จขั้นสุดท้าย”


Paul Jackson Pollock


และท้ายแจ็กสัน พอลล็อก (Paul Jackson Pollock) จิตรกรชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะอายุ 44 ปี พอลล็อกเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2455 ที่เมืองโคดี มลรัฐไวโอมิง เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School เมืองลอสแองเจลีส แคลิฟอร์เนีย

4. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ความปิติ Small Pleasure

โดยวาสสิลี  แคนดินสกี Wassili  Kandinsky ค.ศ. 1913


Kandinsky


ลัทธิแอสแตรค Astract)  มาจาก แอบสแตรค  ที่หมายถึง นามธรรม   ศิลปินมีการสร้างสรรค์ผลงานโฑดยการคำนึงถึงเส้นและสีเท่านั้น  มีลวดลายค้ายลายผ้า  ลายพรม หรือ ลายกระเบื้องปูพื้น  ศิลปินที่มีชื่อเสียง  เช่น  คองดินสกี (Kandinsky)   มองดีออง Mondrian)   และ  วิลอง




beside the sea1966 by robert motherwell



Luise Deicher



Clyfford Still



Cath Sheard - "After Motherwell"



Kandinsky: The Last Decade



วิลเลม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning 1904-1997) จิตรกรรมชุด ผู้หญิง (Women)

อ้างอิง
http://www.bkkgallery.com/index.phpM?
http://www.kongkapan.com/webboard/index.php?topic86.0

จัดทำโดย
นางสาววรรณศิริ ศรีชัยชิต เลขที่ 26
นายอัมรินทร์ เกียงเอีย เลขที่ 42
นางสาวอุลัยลักษณ์ อินพิมพ์ เลขที่ 44

ความรู้สึกของสี

ความรู้สึกของสี

01. ศิลปะแอบสแตกอาร์ต (Abstract Art)

...

.........แอบสแตกอาร์ต หรือ มโนศิลปะ หรือ ศิลปะนามธรรม หมายถึง แบบอย่างของทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ แสดงความรู้สึกของมนุษย์ต่อธรรมชาติแวดล้อม ถ่ายทอดเป็นรูป ภาพ จะมีลักษณะเป็นสองมิติ หรือ สามมิติ ส่วนใหญ่จะไม่พรรณนาเรื่องราวตามความเป็นจริง ศิลปินอาจละทิ้งรูปทรงต่างๆ ด้วยการตัดทอนหรือตัดรูปทรงจนหมดสิ้น อาจสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่ตามความรู้สึกของตนเอง ด้วยการวางโครงสีใหม่ และเรื่องราวล้วนเป็นนามธรรม ซึ่งนับว่าเป็นหัวใหม่ของวงการศิลปกรรมเพราะการเขียนภาพเช่นนี้ ทำความเข้าใจยากกว่าศิลปะทุกแขนงที่เคยมีมา ผู้ริเริ่มคือ วาสสิลี่ แคนดินสกี้ ชาวรัสเซีย เขากล่าวว่า จิตรกรรมทุกชนิดความสำคัญของความรู้สึกอยู่ที่ สี และการจัดรูปทรง (Colour of Form)สำหรับการถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะนั้น แคนดินสกี้คำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ความรู้สึกภายนอกและความรู้สึกภายใน (the inner and the outer) ความรู้สึกภายนอก คือ วัสดุรูปทรง และเมื่อรู้สึกต่อการเห็นรูปทรงดังกล่าวแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกภายในสำหรับคุณค่าของรูปทรงนั้น เป็นการสร้างความกลมกลืนขึ้นด้วยสีสัน การเคลื่อนไหว ลีลา จังหวะ ลักษณะผิว สัดส่วน และความเด่นชัดของภาพ
..........คุณค่าของความรู้สึกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของศิลปะแบบแอบสแตรก ศิลปะแบบโบราณจะเขียนบรรยายอะไรก็เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น รูปผู้หญิง ต้นไม้ สัตว์ ผลไม้ ผู้ชาย และแม้แต่พระเจ้า คำกล่าวของศาสนาอิสลาม มีว่า “พระเจ้าเท่านั้นที่สมบูรณ์ทุกประการ จะเป็นการโอหังทระนงอวดดีของมนุษย์อย่างยิ่ง ถ้าเขาอาจเอื้อมไปหาอะไรมาแทนสิ่งสมบูรณ์ เช่นพระเจ้า” ดังนั้นศาสนาอิสลามจึงไม่นิยมสร้างรูปไว้เคารพ ศิลปินกลุ่มแอบสแตกไม่ต้องการสร้างรูปทรงที่ปรากฎให้ผู้ดูหลงติดเพียงแค่นั้น แต่ต้องการสร้างรูปทรงใหม่ โดยคำนึงถึงการจัดภาพ ลีลา จังหวะความสมดุล และความรู้สึก เพื่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกเองเมื่อได้สัมผัสสิ่งที่ไม่อาจชี้เฉพาะไปได้ว่าเป็นอะไร

02. หลักสุนทรียะ -Piet Mondrian  ลังเล
...

ศิลปะแบบ Geomatric Abstract นี้ได้สืบทอดแนวความคิดของพวก Cubism ที่ว่า "การลดถอน ทุกสิ่งทุกอย่างลงจนเหลือแค่โครงร่างเรขาขณิต" โดยที่พวกเขานำมาเสนอใหม่ในรูปแบบ Abstract อย่างเต็มตัว ศิลปินในกลุ่มนี้ที่เด่นๆ ก็คือ Piet Mondrian เขาเป็นจิตรกรชาวดัทช์ โดยที่เขามีความคิดในการทำงานศิลปะว่า จะต้องเลิกล้มประเพณีของจิตกรรมแบบเก่าๆ โดยเน้นที่จะต้องเป็นศิลปะเป็น Abstraction และ Simplification ซึ่งนั่นก็คือ การเน้นโครงสร้างที่คิดคำนวณอย่างหนัก ในการนี้ เส้นตรงเข้ามามีบทบาทสำคัญ และก็มีความชัดเจน ส่วนสีก็จะ ลดให้เหลือแต่แม่สี แดง เหลือง นํ้าเงิน และสีกลาง (ขาว เทา ดำ) การลดรูปทรง ลดสีนี้ มันเป็นสัญลักษณ์ ที่แฝงมาจากปรัชญาตะวันออก และการสอนเกี่ยวกับสมาธิ วิปัสนา (Theosophy) ที่มีอยู่ในขณะนั้น
       ในปี ค.ศ. 1911Mondrain ได้เดินทางไป Paris ซึ่งอยู่ในช่วงที่ Cubism กำลังแพร่หลายที่นั่น ทำให้เขา ได้รับอิทธิพลในเรื่องสีจาก Picasso และ Braque ซึ่งก็คือการใช้สีในแนวเขียวตะไคร่ สีเทา สีดินออกเหลือง นํ้าตาล แต่ Mondrian จะทำเส้นให้ตรงไปตรงมา มากกว่าจะจัดวางระนาบ และเส้นเฉียงๆ แบบ Cubism ของ Picasso ถึงแม้ว่า Mondrain จะรับอิทธิพลจากศิลปะแบบ Cubism แต่เขาก็ไม่ทำภาพที่ไม่มีเนื้อหา และ ความลึกลวงตาในภาพอย่างของ Cubism
       จุดมุ่งหมายสุดท้ายที่ Mondrain ต้องการในภาพเขียนของเขาก็คือ Pure Reality หรือ สัจธรรมบริสุทธิ์ Reality ของ Mondrain ก็คือสีที่มีอยู่ขณะนั้นในภาพไม่ใช่ Reality ในการเลียนแบบธรรมชาติให้เหมือนจริง โดยที่ Mondrain นั้นเขาจะแสดงความเป็น Reality ด้วยการจัดรูปทรง และสีให้มีแรงผลักดัน เคลื่อนไหวอย่าง ได้ดุลย์กัน Mondrain จะมีวิธีการจัดรูปทรงสี่เหลี่ยมวางในแนวดิ่ง มุมทุกมุมจะเป็นมุมฉาก มีเส้นดำเด่นในแนวดิ่ง และ ในแนวราบ สลับผ่าน รูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สีแดง สีนำเงิน สีเหลือง โดยอยู่บนพื้นภาพสีกลางๆ (ขาว) ทำให้เกิด โครงสร้างที่มีเส้นรอบนอก เคร่งครัด เป็นรูปแบบ "Neo-Plasticism" ที่ Mondrain ได้ค้นพบขึ้นมาเอง และทำได้สมบูรณ์แบบ อย่างที่เราเห็นได้ในภาพ New York City
       Neo - Plasticism ก็คือพลังเคลื่อนไหวของรูปทรง และ สีที่สะอาดบริสุทธิ์ โดยเป็นผลของการวางแผน ไตร่ตรองไปตามขั้นตอน จนได้ศิลปะนามธรรมแท้ ที่มีพื้นฐานความคิดจากโลกและวัตถุจริงจากธรรมชาติ เช่น ผังเมือง New York ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวคิดสมัยใหม่แบบหนึ่งในการแสวงหาความจริง เกี่ยวกับภาวะของวัตถุที่เป็นสามมิติ ซึ่งก็ทำให้งานของ Mondrain เป็นงาน Geometric Abstraction ที่สมบูรณ์ทั้งรูปแบบและความคิดนั่นเอง

03. การจัดกลุ่มของสี :- ตกใจ
...

คุณลักษณะของสีคุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue )หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี
สีที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลือง วนไปถึงสีม่วง คือ
1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย
สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง
เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุดไปจนหม่นที่สุดได้หลายลำดับด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุด คือเกือบเป็นสีดำ
3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness)ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่งสีนั้นจะสว่าวขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึกที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดำ เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่าทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่าสีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ ตั้งแต่ขาว เทา ถึงดำ นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง