วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

01. ศิลปะแอบสแตกอาร์ต (Abstract Art)

...

.........แอบสแตกอาร์ต หรือ มโนศิลปะ หรือ ศิลปะนามธรรม หมายถึง แบบอย่างของทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ แสดงความรู้สึกของมนุษย์ต่อธรรมชาติแวดล้อม ถ่ายทอดเป็นรูป ภาพ จะมีลักษณะเป็นสองมิติ หรือ สามมิติ ส่วนใหญ่จะไม่พรรณนาเรื่องราวตามความเป็นจริง ศิลปินอาจละทิ้งรูปทรงต่างๆ ด้วยการตัดทอนหรือตัดรูปทรงจนหมดสิ้น อาจสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่ตามความรู้สึกของตนเอง ด้วยการวางโครงสีใหม่ และเรื่องราวล้วนเป็นนามธรรม ซึ่งนับว่าเป็นหัวใหม่ของวงการศิลปกรรมเพราะการเขียนภาพเช่นนี้ ทำความเข้าใจยากกว่าศิลปะทุกแขนงที่เคยมีมา ผู้ริเริ่มคือ วาสสิลี่ แคนดินสกี้ ชาวรัสเซีย เขากล่าวว่า จิตรกรรมทุกชนิดความสำคัญของความรู้สึกอยู่ที่ สี และการจัดรูปทรง (Colour of Form)สำหรับการถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะนั้น แคนดินสกี้คำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ความรู้สึกภายนอกและความรู้สึกภายใน (the inner and the outer) ความรู้สึกภายนอก คือ วัสดุรูปทรง และเมื่อรู้สึกต่อการเห็นรูปทรงดังกล่าวแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกภายในสำหรับคุณค่าของรูปทรงนั้น เป็นการสร้างความกลมกลืนขึ้นด้วยสีสัน การเคลื่อนไหว ลีลา จังหวะ ลักษณะผิว สัดส่วน และความเด่นชัดของภาพ
..........คุณค่าของความรู้สึกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของศิลปะแบบแอบสแตรก ศิลปะแบบโบราณจะเขียนบรรยายอะไรก็เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น รูปผู้หญิง ต้นไม้ สัตว์ ผลไม้ ผู้ชาย และแม้แต่พระเจ้า คำกล่าวของศาสนาอิสลาม มีว่า “พระเจ้าเท่านั้นที่สมบูรณ์ทุกประการ จะเป็นการโอหังทระนงอวดดีของมนุษย์อย่างยิ่ง ถ้าเขาอาจเอื้อมไปหาอะไรมาแทนสิ่งสมบูรณ์ เช่นพระเจ้า” ดังนั้นศาสนาอิสลามจึงไม่นิยมสร้างรูปไว้เคารพ ศิลปินกลุ่มแอบสแตกไม่ต้องการสร้างรูปทรงที่ปรากฎให้ผู้ดูหลงติดเพียงแค่นั้น แต่ต้องการสร้างรูปทรงใหม่ โดยคำนึงถึงการจัดภาพ ลีลา จังหวะความสมดุล และความรู้สึก เพื่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกเองเมื่อได้สัมผัสสิ่งที่ไม่อาจชี้เฉพาะไปได้ว่าเป็นอะไร

02. หลักสุนทรียะ -Piet Mondrian  ลังเล
...

ศิลปะแบบ Geomatric Abstract นี้ได้สืบทอดแนวความคิดของพวก Cubism ที่ว่า "การลดถอน ทุกสิ่งทุกอย่างลงจนเหลือแค่โครงร่างเรขาขณิต" โดยที่พวกเขานำมาเสนอใหม่ในรูปแบบ Abstract อย่างเต็มตัว ศิลปินในกลุ่มนี้ที่เด่นๆ ก็คือ Piet Mondrian เขาเป็นจิตรกรชาวดัทช์ โดยที่เขามีความคิดในการทำงานศิลปะว่า จะต้องเลิกล้มประเพณีของจิตกรรมแบบเก่าๆ โดยเน้นที่จะต้องเป็นศิลปะเป็น Abstraction และ Simplification ซึ่งนั่นก็คือ การเน้นโครงสร้างที่คิดคำนวณอย่างหนัก ในการนี้ เส้นตรงเข้ามามีบทบาทสำคัญ และก็มีความชัดเจน ส่วนสีก็จะ ลดให้เหลือแต่แม่สี แดง เหลือง นํ้าเงิน และสีกลาง (ขาว เทา ดำ) การลดรูปทรง ลดสีนี้ มันเป็นสัญลักษณ์ ที่แฝงมาจากปรัชญาตะวันออก และการสอนเกี่ยวกับสมาธิ วิปัสนา (Theosophy) ที่มีอยู่ในขณะนั้น
       ในปี ค.ศ. 1911Mondrain ได้เดินทางไป Paris ซึ่งอยู่ในช่วงที่ Cubism กำลังแพร่หลายที่นั่น ทำให้เขา ได้รับอิทธิพลในเรื่องสีจาก Picasso และ Braque ซึ่งก็คือการใช้สีในแนวเขียวตะไคร่ สีเทา สีดินออกเหลือง นํ้าตาล แต่ Mondrian จะทำเส้นให้ตรงไปตรงมา มากกว่าจะจัดวางระนาบ และเส้นเฉียงๆ แบบ Cubism ของ Picasso ถึงแม้ว่า Mondrain จะรับอิทธิพลจากศิลปะแบบ Cubism แต่เขาก็ไม่ทำภาพที่ไม่มีเนื้อหา และ ความลึกลวงตาในภาพอย่างของ Cubism
       จุดมุ่งหมายสุดท้ายที่ Mondrain ต้องการในภาพเขียนของเขาก็คือ Pure Reality หรือ สัจธรรมบริสุทธิ์ Reality ของ Mondrain ก็คือสีที่มีอยู่ขณะนั้นในภาพไม่ใช่ Reality ในการเลียนแบบธรรมชาติให้เหมือนจริง โดยที่ Mondrain นั้นเขาจะแสดงความเป็น Reality ด้วยการจัดรูปทรง และสีให้มีแรงผลักดัน เคลื่อนไหวอย่าง ได้ดุลย์กัน Mondrain จะมีวิธีการจัดรูปทรงสี่เหลี่ยมวางในแนวดิ่ง มุมทุกมุมจะเป็นมุมฉาก มีเส้นดำเด่นในแนวดิ่ง และ ในแนวราบ สลับผ่าน รูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สีแดง สีนำเงิน สีเหลือง โดยอยู่บนพื้นภาพสีกลางๆ (ขาว) ทำให้เกิด โครงสร้างที่มีเส้นรอบนอก เคร่งครัด เป็นรูปแบบ "Neo-Plasticism" ที่ Mondrain ได้ค้นพบขึ้นมาเอง และทำได้สมบูรณ์แบบ อย่างที่เราเห็นได้ในภาพ New York City
       Neo - Plasticism ก็คือพลังเคลื่อนไหวของรูปทรง และ สีที่สะอาดบริสุทธิ์ โดยเป็นผลของการวางแผน ไตร่ตรองไปตามขั้นตอน จนได้ศิลปะนามธรรมแท้ ที่มีพื้นฐานความคิดจากโลกและวัตถุจริงจากธรรมชาติ เช่น ผังเมือง New York ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวคิดสมัยใหม่แบบหนึ่งในการแสวงหาความจริง เกี่ยวกับภาวะของวัตถุที่เป็นสามมิติ ซึ่งก็ทำให้งานของ Mondrain เป็นงาน Geometric Abstraction ที่สมบูรณ์ทั้งรูปแบบและความคิดนั่นเอง

03. การจัดกลุ่มของสี :- ตกใจ
...

คุณลักษณะของสีคุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue )หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี
สีที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลือง วนไปถึงสีม่วง คือ
1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย
สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง
เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุดไปจนหม่นที่สุดได้หลายลำดับด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุด คือเกือบเป็นสีดำ
3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness)ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่งสีนั้นจะสว่าวขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึกที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดำ เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่าทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่าสีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ ตั้งแต่ขาว เทา ถึงดำ นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น